ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)

113 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)

หลักการทำงานของไฟฉุกเฉินคือ
เป็นอุปกรณ์ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่จะมี 2 แบบ คือ แบบชนิดเติมน้ำ
กลั่น และชนิดแห้งไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และเมื่อไฟฟ้าดับจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป On หน้า Contact
ของ Relay และจะทำให้หลอดไฟสว่างเมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ไฟฉุกเฉินก็จะมีวงจรลดแรงดันไฟฟ้า
และแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC เพื่อประจุให้แบตเตอรี่และมีวงจร Off หน้า Concat relay เพื่อ
ไม่ให้หลอดไฟสว่าง

ขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้องก่อนใช้งาน
- ควรศึกษาคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อให้เข้าใจ
- การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้น ๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่
แบบเติมน้ำกลั่น ควรจะติดตั้งบริเวณทางเดินหรือที่โล่ง หรือพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็น
อย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาเป็น
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจถ้านำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ ในห้องที่มี
อากาศถ่ายเทไม่ดีหรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง

ระหว่างการใช้งาน
- ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นต้องตรวจสอบระดับน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน
- ทดสอบการใช้งานว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่โดยกดปุ่ม test ทุก ๆ 1 เดือน ว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่ม test ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า
- ถ้าไฟดับในเวลากลางวัน แล้วมีใครปิดสวิทซ์ เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่างเมื่อไฟฟ้าจ่ายเป็นปกติ แล้วให้เปิดสวิทซ์เพราะมิเช่นนั้น ไฟฉุกเฉินจะไม่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
- ควรให้แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

การบำรุงรักษาไฟฉุกเฉิน
- ทำความสะอาดดวงโคม ทุก 2 สัปดาห์
- ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น เติมน้ำกลั่น ทุก 1 เดือน
- ทดสอบการทำงานของเครื่อง test เครื่อง ทุก ๆ 1 เดือน
- คายประจุแบตเตอรี่ให้หมด ทุก ๆ 6 เดือน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้